โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Topology)
การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น
สามารถกระทำได้หลายรูปแบบซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นต่างกันไป
โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะการเชื่อมต่อได้ดังนี้
1. เครือข่ายแบบบัส (Bus
Network)
โดยมีตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ลในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียว
เท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ
การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้มีวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานี ส่งข้อมูล
พร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน
การติดตั้งเครือข่ายแบบนี้ทำได้ไม่ยาก เพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
แต่ละชนิดถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียว
โดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัสมักจะใช้ในเครือข่าย
ขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีเครื่อง คอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก
ข้อดี ประหยัดสายสัญญาณ เครื่องหนึ่งเสียก็ไม่กระทบกับเครือข่าย
ข้อเสีย อาจเกิดการชนกันของ ข้อมูลได้ ต้องมีการส่งใหม่ ถ้าสายหลักเสีย เครือข่ายล่ม
ข้อเสีย อาจเกิดการชนกันของ ข้อมูลได้ ต้องมีการส่งใหม่ ถ้าสายหลักเสีย เครือข่ายล่ม
2. เครือข่ายแบบดาว (Star
Network)
นำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง
การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการ
ติดต่อผ่านทางวงจรของ
หน่วยสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลาง ของการ
ติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
ข้อดี ติดตั้งและดูแลง่าย
ถ้าเครื่องลูกข่ายเสียก็ตรวจสอบได้ง่าย เครื่องอื่นยังติดต่อกันได้
ข้อเสีย ถ้าฮับเสีย เครือข่ายล่ม
ใช้สัญญาณมากกว่าแบบอื่น
3. เครือข่ายแบบวงแหวน
(Ring Network)
การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวนจะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้นเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล
จะส่งไป
ยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่เครื่องคอมพิวเตอร์
ต้นทางระบุ จะส่งผ่านไปยัง
เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไป เรื่อย ๆ
จนกว่าจะถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่
ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่จากเครื่องต้นทาง
ข้อดี ส่งข้อมูลไปยังผู้รับหลายเครื่อง ๆ พร้อมกันได้
ไม่เกิดการชนกันของข้อมูล
ข้อเสีย ถ้าเครื่องใดมีปัญหา เครือข่ายล่มการติดตั้งทำได้ยาก
และใช้สายสัญญาณมากกว่าแบบบัส
4. เครือข่ายแบบตาข่าย
(Mesh Network)
ข้อดี การสื่อสารข้อมูลเร็ว
เพราะคอมพิวเตอร์แต่ละคู่สามารถสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องรอ
เส้นทางการเชื่อมต่อใดๆ ขาด ไม่มีผลต่อการสื่อสารของเครื่องอื่น
ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
จากจำนวนสายสัญญาณและช่องต่อสาย ตามจำนวนเครื่องในระบบ
5. เครือข่ายแบบผสม (Hybrid
Network)
เครือข่ายเดียว เช่น การเชื่อม ต่อเครือข่ายแบบวงแหวน แบบดาว
และแบบบัสเข้าเป็นเครือข่ายเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น